1. สถิติบรรยายหรือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)
เป็นสถิติที่เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล (Presentation) ในรูปของตารางแผนภูมิ รวมทั้งการนำเสนอค่าสถิติต่าง ๆ เช่น ค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Central Tendency) เช่น ค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) และฐานนิยม (Mode) การกระจายของข้อมูล (Dispersion) เช่น ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation; SD) และ พิสัย (Range) รวมทั้งค่าสัดส่วน (Proportion) หรืออัตรา (Rate)
การพรรณนา หมายถึงการสรุปบรรยายคุณลักษณะเบื้องต้นของประชากรที่ศึกษา ซึ่งเป็นการพรรณนาเท่านั้น ในทางสถิติหมายถึง การสรุปบรรยายการกระจายของข้อมูลตัวแปรเดี่ยว (Univariate Distribution) หรือการแจกแจงความถี่ (Frequency Table) หรือการบรรยายค่าเฉลี่ยของตัวแปรแต่ละตัว ในการบรรยายสรุปคุณลักษณะดังกล่าวจำแนกเป็นรายกลุ่มของประชากร ในบางครั้งผู้วิจัยเก็บข้อมูลเป็น Interval Scale หรือ Ratio Scale แต่ทำการลดระดับ Scale ลงเป็น Norminal Scale แล้วทำการนำเสนอเป็น Qualitative Data
2. สถิติเชิงอ้างอิง (Inferential statistics) เป็นสถิติที่มุ่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วสรุปอ้างอิงไปยังกลุ้มประชากร วิธีที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรนั้น คือ การประมาณค่า (Estimation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing)
วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ