การหาประสิทธิภาพนวัตกรรม
1. ตัวเลขที่กำหนดนั้นหมายถึง E1/E2 ครับ โดยตัวเลขนั้นการกำกำหนดขึ้นอยู่กับผู้วิจัยเป็นคนกำหนด โดยจะต้องคำถึงถึงองค์ประกอบดังนี้ 1.1 ธรรมชาติของรายวิชา หรือเนื้อหา ความยากกง่ายของรายวิชาหรือเนื้อหานั้น ถ้าง่ายก็ตั้งสูง เพราะผู้เรียนอาจจะสามารถผ่านได้ง่าย ถ้าเนื้อหายากก็ตั้งต่ำๆ หน่อย เช่น คณิตศาสตร์จะตั้งประมาณ 70/70 หรือ 75/75 เพราะธรรมชาติของวิชานั่นเอง1.2 สมรรถภาพของผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีคนเก่งกี่คน ปานกลางกี่คน อ่อนกี่คน ประเมินโดยภาพรวมว่าอยู่ระดับไหน อันนี้ถ้าในห้องเรียนนั้น มีนักเรียนที่เรียนเก่งอยู่มาก ประสิทธิภาพของสื่อของเราก็ต้องสามารถช่วยยกระดับความรู้ให้เข้าใกล้ 100 ให้มากที่สุดตามไปด้วยนั่นเอง2. ความหมายหมายของ E1/E2 E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย บท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1 E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2
การหาคุณภาพนวัตกรรม
การหาคุณภาพของนวัตกรรม มีวิธีการดังนี้
1. การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ทำนวัตกรรมนั้นโดยตรงอย่างน้อย 3 คนตรวจสอบ ถ้าผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนมีความเห็นสอดคล้องกัน 2 หรือ 3 คน แสดงว่าเนื้อหาและรูปแบบมีความถูกต้อง เที่ยงตรงและครอบคลุมจุดมุ่งหมายที่กำหนดซึ่งการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำไปทดลองใช้นั้นมักจะใช้ค่า IOC ในการพิจารณาคุณภาพของนวัตกรรม
การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้
+1 หมายถึง แน่ใจว่าถูกต้อง/สอดคล้อง/ตรงกับจุดประสงค์
0 หมายถึง ไม่แน่ใจ
-1 หมายถึง แน่ใจว่ายังไม่ถูกต้อง/ไม่สอดคล้อง/ไม่ตรง
จุดประสงค์
ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
2. การทดลองและพัฒนา เป็นการตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ที่ใช้กันโดยทั่วไปและเชื่อถือว่ามีมาตรฐานจะมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การทดลองแบบ 1 : 1 เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียน 3 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน คือ เก่ง ปานกลาง และ อ่อน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบ การใช้งานและความสอดคล้องเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อย่างละเอียดจากการสังเกตพฤติกรรมการใช้ของนักเรียนและนำมาแก้ไขข้อบกพร่องที่พบให้สมบูรณ์
2.2 การทดลองกลุ่มเล็ก เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนตั้งแต่ 5 – 10 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกันทั้ง เก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของนวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น และนำผลมาแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง
2.3 การทดลองกลุ่มใหญ่ เป็นการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับนักเรียนตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนวัตกรรม ซึ่งมีเกณฑ์ การพิจารณา ดังนี้
2.3.1 หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งเกณฑ์ที่ยอมรับว่านวัตกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ คือ ด้านความรู้ ความจำ E1/E2 จะต้องมีค่า 80/80 ขึ้นไป ส่วนในด้านทักษะปฏิบัติ E1/E2 ต้องมีค่า 70/70 ขึ้นไป โดยที่ค่า E1/E2 ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่า ร้อยละ 5
E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ
N คือ จำนวนนักเรียน
E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด
B คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน
2.3.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม โดยการวิเคราะห์จากคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทำได้กับคะแนนเต็มทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเกณฑ์การยอมรับว่านวัตกรรมมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริง จะต้องมีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป
ค่าดัชนีประสิทธิผล = คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน - คะแนนเฉลี่ยก่อน
คะแนนเต็มหลังเรียน - คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
ที่มา : คู่มือหลักสูตร “การพัฒนาข้าราชการครูเพื่อให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ครูชำนาญการ
พิเศษ” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2550
(เอกสารอัดสำเนา)
วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อยากให้ปรับปรุงเรื่องสีของตัวหนังสือ (ชื่อบทความ กับตัวเนื้อหา
ตอบลบหมายถึงใช้สีสันที่จะทำให้บทความน่าสนใจและน่าอ่านยิ่งขึ้น)
เข้ามาดู blog นี้แล้วคิดถึง...โรงเรียนท่าตูมสนิทราษฎร์ เป็นโรงเรียนแรกในชีวิตผม
ตอบลบ